วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ร่มบ่อสร้าง สันกำแพง

ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมและเลือกซื้อร่มบ่อสร้าง ที่“บ้านบ่อสร้าง”เป็นที่ระลึกติดมือกลับมา ถือเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะ ทำร่มกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้น สะดุดตาผู้พบเห็น มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำ อย่างเดียวกัน  หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิต ไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม


ชาวบ่อสร้างทั้งตำบลรวมไปถึงอีก 8 หมู่บ้านในตำบลใกล้เคียงของพื้นที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด ใน จังหวัดเชียงใหม่ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่างานทำมือของชาวบ้านได้กลายเป็นโรงงาน อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ หลายร้อยครัวเรือนในหลายๆหมู่บ้าน การผลิตชิ้นส่วนร่มเป็นหน้าที่ของแรงงานที่ เป็นชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านตั้งแต่รุ่น พ่อเฒ่าแม่เฒ่าลงมาจนถึงคนหนุ่มสาวนับพันๆคน ดังนั้นบ่อสร้างจึงเป็นเพียง หมู่บ้านประกอบร่มโดยมีชิ้นส่วนต่างๆของร่มเดินทางมาจากต่างหมู่บ้าน ซึ่งส่วนประต่างๆของร่มที่เกิดจากแรงงาน ใต้ถุน บ้านและกระจายกันอยู่ทั่วไปก็จะมารวมกันอยู่ที่นี่เป็นจุดสุดท้าย
บริเวณทางเข้าศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง
การทำร่มบ่อสร้างมีมานับร้อยปี ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีความถนัดในการทำร่มแตกต่างกันไปตามชิ้นส่วนที่ได้รับ มอบ หมายในการผลิต เช่น หมู่บ้านสันพระเจ้างาม ผลิตหัวร่มและตุ้มร่ม บ้านออนทำโครงร่ม บ้านหนองโค้งหุ้มร่ม และลงสี บ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ดผลิตด้ามร่ม บ้านต้นเปาผลิตกระดาษสาแต่การประกอบชิ้นส่วนของ ร่มทั้งหมดจะมารวมกันอยู่ที่บ่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายลวดลาย และสีสันบนผืนร่มที่ถือว่าเป็น สัญลักษณ์อันเลื่องชื่อของร่มบ่อสร้าง มีกลเม็ดเคล็ดลับในการทำร่มอยู่ที่การใช้แป้งเปียกผสมน้ำมะโก้ติดผ้า หรือกระดาษเข้ากับร่มทำให้ติดทนนานไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันควร และเวลาลงสีน้ำมันที่ต้องผสมกับน้ำมันมะมื้อ หรือน้ำมันตังอิ๊วที่ทำให้ร่มทนแดด ทนฝน และใช้งานได้จริงไม่ว่าหน้าฝนหรือหน้าร้อนเพราะฉะนั้น นอกจาก ร่มบ่อสร้าง จะเป็นของที่ ระลึกสวยงามแล้วยังสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี



ขั้นตอนการทำร่มบ่อสร้าง


1.การทำซี่ร่ม หลังจากได้ไม้ไผ่มาแล้งก็นำเอามาตัดออกเป็นท่อนๆถ้าเป็นไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวก็ตัดระหว่างข้อ แต่ถ้าเป็นไม้ปล้องสั้นก็ตัดให้ข้อไม้อยู่ตรงกลางความยาวของท่อนไม้ที่ตัดเท่าับขนาดของร่มที่จะทำ เช่น ทำร่ม ขนาด 20นิ้วก็ตัดไม้ไผ่ยาว 20นิ้วเป็นต้นเมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวแล้วก็ใช้มีดขูดผิวไม้ออกให้หมดแล้วทำ เครื่องหมาย สำหรับเจาะรูไว้ เจาะรูแล้วร้อยติดกันเรียง
2.จากนั้นก็นำมาประกอบเป็นโครงร่ม
3.ทากาวและเอากระดาษสีขาวบุลงไป ตามด้วยกระดาษสีวางทิ้งไว้ให้แห้งกลเม็ดเคล็ดลับ อยู่ที่การใช้แป้งเปียก ผสมน้ำมะโก้ติดผ้า หรือกระดาษเข้ากับร่มทำให้ติดทนนานไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันควร
4.จากนั้นก็นำมาวาดลวดลายและสีสันบนผืนร่ม ให้สวยงาม เคล็ดลับของการลงสีให้ติดทนนาน คือเวลาลงสีน้ำมัน ที่ต้องผสม กับน้ำมันมะมื้อหรือน้ำมันตังอิ๊วที่ทำให้ร่มทนแดด ทนฝน และใช้งานได้จริงไม่ว่าหน้าฝนหรือหน้าร้อน เพราะฉะนั้นนอกจากร่มบ่อสร้างจะเป็นของที่ระลึกสวยงามแล้วยังสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี
หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิต ไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม ไปตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายมือเข้าไป
ซึ่งนอกจากจะมีสาธิตการทำร่มแล้ว ภายในอาคารยังมีของ ที่ระลึกและของพื่นเมืองต่างๆขายอีกด้วย



ความเป็นมาของร่มบ่อสร้าง


ว่ากันถึงความเป็นมาในอดีตของ"เทศกาลร่มบ่อสร้าง"ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกันในนามของหมู่บ้านที่มีงานผลิตร่ม หัตถกรรมพื้นบ้านของบ่อสร้างนั้น การจัดงานต่อเนื่องกันตลอดทุกปีแรกเริ่มเดิมที เทศกาลร่มบ่อสร้างหรืองานร่มบ้านบ่อสร้างนั้น ในอดีตหมู่บ้าน บ่อสร้าง อ.สันกำแพง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ท่ามกลางธรรมชาติแบบชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนาทำสวน ยามว่างเว้นจากการทำการเกษตรมักจะผลิตร่มออกจำหน่าย ซึ่งเป็นร่มกระดาษสาต่อมาเติม แต่งลวดลายกลายเป็นร่มที่สวยงาม น่าซื้อไว้ใช้และเป็นของฝากของที่ระลึก  เมื่อระมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา "ท่านอินศวร ไชยซาววงศ์ ลูกพ่อขุนเปา ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้า และเป็นคนพื้นที่ ได้เล็งเห็นว่าหมู่บ้านบ่อสร้าง เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีฝีมือ สามารถผลิตร่มออกขายได้เงินได้ทอง กันจำนวนมาก จึงชักชวนกับชาวบ้านและ ผู้นำท้องถิ่นในสมัยนั้น ริเริ่มจัดงานขึ้นครั้งแรก ปีแรก มีผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามาเที่ยวชมงานกันอย่างล้นหลามด้วย กิจกรรมนานาชนิดและการละเล่นพื้นบ้าน ต่อมามนต์ขลังของงานร่มบ่อสร้าง ได้จางหายไปจัดกันขึ้นมาต่อเนื่อง เช่นกัน ประสบความสำเร็จบ้างไม่ประสบความสำเร็จบ้านแต่ทำกันมาตลอดโดยจะจัดขึ้นประมาณ เดือนมกราคม ของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากกระดาษสาโดย เฉพาะร่มบ่อสร้าง มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆที่น่าสนใจ



ข้อมูลจาก http://www.paiduaykan.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น