ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ถือเป็นโครงการหลวงขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ไม่ไกลนักจาก โครงการหลวงอินทนนท์ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งใจกลางหุบเขาสูง จึงมีความงดงามของสภาพพื้นที่ ซึ่งปกคลุมด้วยสภาพ อากาศหนาวเย็น ตลอดทั้งปี มาที่นี่นอกจากเราจะได้ชมแปลงพืชผักไม้ผลเมืองหนาวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาลี่ พลัม ท้อ แนคตารีน หรือสตรอเบอร์รี่ หากมาในช่วงต้นถึงปลายเดือน ม.ค. ของทุกปี จะได้ชมดอกพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทย ที่จะบานสะพรั่งเป็นสีชมพูสวยงามตลอดริมทาง
ประวัติการจัดตั้ง
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2525 ครั้งนั้น พระบาท สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวางเป็นครั้งแรก ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังคงมีการปลูกพืชเสพติด เช่น ฝิ่น อยู่เป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่น จึงรับสั่งให้หน่วยงาน ในพื้นที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งในครั้งนั้นเอกอัครราชทูตอเมริกาได้รับสนองนโยบาย โดยให้การสนับสนุนงาน ประมาณสมทบ จากนั้นศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จังได้เริ่มต้นดำเนินงานอย่างจริงจังในปีพ.ศ. 2528 สภาพพื้นที่ ของ โครงการ ส่วนใหญ่ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน มีแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาเพียงเล็กน้อย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 1,300 – 1,400 เมตร มีแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านคือ แม่น้ำขุนวางขวา และแม่น้ำขุนวางซ้าย ประชากรในพื้นที่เป็นชาวเขา เผ่ากระเหรี่ยง และม้ง รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบ ทั้งสิ้นราว 29,304.90 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ในการดำเนินการของโครงการประมาณ 30 ไร่
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) แบ่งขอบเขตการทำงานออกเป็น งานวิจัยไม้ดอก ไม้ผลและพันธุ์ไม้ เช่น คาร์เนชั่น องุ่น สตอเบอร์รี่ เฟินและลินิน ผสมผสานไปกับงานพัฒนาด้านการเกษตรในเรื่องการปลูกกาแฟ เพื่อเพิ่มผลผลิตมากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการทำแปลงสาธิตเพื่อรวมสายพันธุ์ชนิดต่างๆทั้งไม้ดอก ไม้ผล ผักและชาจีน ตลอดจนงานขยายพันธุ์คาร์เนชั่น ลิอะทริส หน้าวัว แวกซ์ฟลาวเวอร์ แคลลี่ลิลี่ อัลสโตรมีเรีย และเฟิน
งานส่งเสริมพืชผักเมืองหนาว ให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกและขายกะหล่ำปลี กะหล่ำดาว การปลูกหอมญี่ปุ่น และกระเทียมต้น วิธีการบำรุงรักษาต้นไว้ไม่เก็บเกี่ยวในขณะที่มีราคาต่ำ การปลูกผักกาดหอมห่อ แตงกวายาว ซุกินี และฟักทอง ญี่ปุ่น ถั่วลันเตา ผักกาดหอมใบแดง และพริกยักษ์เขียว เหลือ แดง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมไม้ผลเมืองหนาว โดยได้รับการ สนับสนุนจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันได้แก่ ท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ บ๊วย พลับ พลัม และเสาวรส งานหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง คือการส่งเสริมงานหัตถกรรมพื้นบ้านจากเส้นใยกัญชา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวเขาในชุมชน
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) แบ่งขอบเขตการทำงานออกเป็น งานวิจัยไม้ดอก ไม้ผลและพันธุ์ไม้ เช่น คาร์เนชั่น องุ่น สตอเบอร์รี่ เฟินและลินิน ผสมผสานไปกับงานพัฒนาด้านการเกษตรในเรื่องการปลูกกาแฟ เพื่อเพิ่มผลผลิตมากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการทำแปลงสาธิตเพื่อรวมสายพันธุ์ชนิดต่างๆทั้งไม้ดอก ไม้ผล ผักและชาจีน ตลอดจนงานขยายพันธุ์คาร์เนชั่น ลิอะทริส หน้าวัว แวกซ์ฟลาวเวอร์ แคลลี่ลิลี่ อัลสโตรมีเรีย และเฟิน
งานส่งเสริมพืชผักเมืองหนาว ให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกและขายกะหล่ำปลี กะหล่ำดาว การปลูกหอมญี่ปุ่น และกระเทียมต้น วิธีการบำรุงรักษาต้นไว้ไม่เก็บเกี่ยวในขณะที่มีราคาต่ำ การปลูกผักกาดหอมห่อ แตงกวายาว ซุกินี และฟักทอง ญี่ปุ่น ถั่วลันเตา ผักกาดหอมใบแดง และพริกยักษ์เขียว เหลือ แดง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมไม้ผลเมืองหนาว โดยได้รับการ สนับสนุนจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันได้แก่ ท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ บ๊วย พลับ พลัม และเสาวรส งานหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง คือการส่งเสริมงานหัตถกรรมพื้นบ้านจากเส้นใยกัญชา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวเขาในชุมชน
กิจกรรมการท่องเที่ยว
กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่แบ่งออกเป็นสามส่วน
- ส่วนแรกเป็นกิจกรรมภายในโครงการอาทิ การชมแปลงสาธิตไม้ผลเมืองหนาว ภายในศูนย์ฯ ซึ่งออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน
- ส่วนที่สองจะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อยู่ละแวกใกล้เคียงเช่น การท่องเที่ยวในพื้นที่สถานีเกษตรที่สูงขุนวางและแม่จอนหลวง ซึ่งเป็นสถานีเกษตรที่สูงที่มีความงดงามทางธรรมชาติในเรื่องพันธุ์ไม้ต่างๆ โดยเฉพาะซากุระ ซึ่งจะบานสะพรั่งในช่วงปลาย เดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม
- ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวชมประเพณีและวัฒนธรรมในพื้นที่จะมีวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและ กระเหรี่ยง ซึ่งเป็นประชาชนหลัก ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยมีงานปีใหม่ของชาวม้ง และงานข้าวใหม่ของชาวกระเหรี่ยงให้ชม
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
มีแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อินทนนท์เป็นหลัก อ่างกาหลวง ยอดอินทนนท์ น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ นอกจากนี้ยัง มีกิจกรรมศึกษา เช่น เดินป่าเที่ยวน้ำตกผาดำ ห่างจากศูนย์ประมาณ 2.5 กิโลเมตร กิจกรรมดูนก กิจกรรมศึกษาพันธุ์ไม้และ สมุนไพร
ข้อมูลจาก http://amazingroyalproject.com/road_details.php?content_id=8&province=1
- ส่วนแรกเป็นกิจกรรมภายในโครงการอาทิ การชมแปลงสาธิตไม้ผลเมืองหนาว ภายในศูนย์ฯ ซึ่งออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน
- ส่วนที่สองจะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อยู่ละแวกใกล้เคียงเช่น การท่องเที่ยวในพื้นที่สถานีเกษตรที่สูงขุนวางและแม่จอนหลวง ซึ่งเป็นสถานีเกษตรที่สูงที่มีความงดงามทางธรรมชาติในเรื่องพันธุ์ไม้ต่างๆ โดยเฉพาะซากุระ ซึ่งจะบานสะพรั่งในช่วงปลาย เดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม
- ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวชมประเพณีและวัฒนธรรมในพื้นที่จะมีวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและ กระเหรี่ยง ซึ่งเป็นประชาชนหลัก ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยมีงานปีใหม่ของชาวม้ง และงานข้าวใหม่ของชาวกระเหรี่ยงให้ชม
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
มีแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อินทนนท์เป็นหลัก อ่างกาหลวง ยอดอินทนนท์ น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ นอกจากนี้ยัง มีกิจกรรมศึกษา เช่น เดินป่าเที่ยวน้ำตกผาดำ ห่างจากศูนย์ประมาณ 2.5 กิโลเมตร กิจกรรมดูนก กิจกรรมศึกษาพันธุ์ไม้และ สมุนไพร
ข้อมูลจาก http://amazingroyalproject.com/road_details.php?content_id=8&province=1
บรรยากาศขุนวาง | |
ที่พักขุนวาง
มีบ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 5 หลัง รับรองได้หลังละ 6-15 คน ราคาที่พักหลังละ 500, 800 และ1,200/คืน ส่วนเต็นท์มี ขนาด 2 คน ให้บริการราคา 100 บาท/ถุง/คืน กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่ 30 บาท/หลัง/คืน
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) บ้านขุนวาง หมู่12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 50360 โทร 0-53 114 133 , 08-1960 2033
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) บ้านขุนวาง หมู่12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 50360 โทร 0-53 114 133 , 08-1960 2033
การเดินทางไปขุนวาง
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ก่อนถึงอำเภอจอมทอง มีทางแยกขวามือขึ้น ดอยอินทนนท์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 ราวหลักกิโลเมตรท ี่30-31 มีสามแยกตรงหมู่บ้านขุนกลาง ก็เลี้ยวขวาไปอีก 16 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านขุนวาง เลยหมู่บ้านไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงสถานนีเกษตรฯ ขุนวาง ถนนเป็นถนนลาดยาง อาจจะมีหลุมบาง
1. โดยรถสาธารณะ
หากต้องการเดินทางวางโดยไม่มีรถส่วนตัว ต้องอาศัยเช่ารถสองแถวสีเหลือง โดยสามารถเช่าได้ตรงอำเภอจองทอง ตรงคิว รถสองแถวขึ้นดอยอินทนนท์ตรงวัดพระธาตุศรีจอมทอง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ก่อนถึงอำเภอจอมทอง มีทางแยกขวามือขึ้น ดอยอินทนนท์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 ราวหลักกิโลเมตรท ี่30-31 มีสามแยกตรงหมู่บ้านขุนกลาง ก็เลี้ยวขวาไปอีก 16 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านขุนวาง เลยหมู่บ้านไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงสถานนีเกษตรฯ ขุนวาง ถนนเป็นถนนลาดยาง อาจจะมีหลุมบาง
1. โดยรถสาธารณะ
หากต้องการเดินทางวางโดยไม่มีรถส่วนตัว ต้องอาศัยเช่ารถสองแถวสีเหลือง โดยสามารถเช่าได้ตรงอำเภอจองทอง ตรงคิว รถสองแถวขึ้นดอยอินทนนท์ตรงวัดพระธาตุศรีจอมทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น